บทที่ 1 พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

ควาหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

    การสื่อสาร (communication) หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่ง ไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง
    ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการหาความจริง โดยในที่นี้ข้อมูลจะอยู่ในรูปเลขฐานสอง ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถทำงานได้

    การสื่อสารข้อมูล (data communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอน หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบเลขฐานสอง ของอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ผ่านตัวกลางในการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลมีจุดประสงค์เพื่อติดต่อ และเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน



การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสมโดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data) จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง



การแลกเปลี่ยนข้อมูล/ข่าวสาร โดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้


องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย

 1. ข้อมูล/ข่าวสาร ( data/message ) คือ ข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องการส่งไปยังผู้รับโดยข้อมูล/ข่าวสารประกอบด้วยข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง
 2. ผู้ส่ง ( sender ) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น
 3. ผู้รับ ( receiver ) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสารที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น 
 4. สื่อกลางในการส่งข้อมูล ( transmission media ) คือ สื่งที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูล/ข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสาย และแบบไร้สาย
 5. โพรโทคอล ( protocoll ) คือ กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดชึ้นมาเพื่อเป็นข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง


การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดประโยชน์

1.ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล 
ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
2.ความถูกต้องของข้อมูล 
การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล
3.ความเร็วของการรับส่งข้อมูล 
การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสัญญาณทางไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง
4.การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล 
การรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารสามารถทำได้ในราคาถูกกว่าการสื่อสารแบบอื่น เช่น การใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า วอยซ์โอเวอร์ไอพี
5.ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร 
ในองค์กรสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์
6.ความสะดวกในการประสานงาน 
ในองค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานประสานกันกันผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
7.ขยายบริการขององค์กร
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้องค์กรสามารถกระจายที่ทำการไปตามจุดต่างๆที่ต้องการบริการ เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศ
8.การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย 
การให้บริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริกการได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น การซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ลักษณะรายวิชา วิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายเบื้องต้น รหัสวิชา  3204-2003   ระดับชั้น ปวส.   จุดประสงค์รายวิชา    เพื่อให้ 1. ...